คำขวัญอำเภอเรณูนคร

เรณูนคร ดินดอนถิ่นภูไท สาวสวยรวยน้ำใจ เลิศวิไลในวัฒนธรรม

วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าลาด







อบต.ท่าลาด อ.เรณูนคร จ.นครพนม










อินเตอร์เนทตำบล มีจริง หรือ แค่มีป้ายโชว์










บรรยากาศที่นี่ไม่ค่อยเป็นมิตร ผู้คนก็ดุและขี้ระแวงตั้งแต่นายกฯลงมาถึงลูกน้อง
นายอำเภอเรณูนคร ครับ  ถ้าว่างๆก็ลองแวะมาดูที่นี่ซักหน่อยซิ  
ว่าที่ อบต.ท่าลาดนี่ เขามีปมลับอะไรต้องระวาดระแวง

ooooooooooooooooooooooooooooooooo


ที่ทำการของ " กลุ่มจักสานด้วยกกตำบลท่าลาด "








ผลิตภัณฑ์ที่สะดุดตาที่สุด ก็คงเป็น " หมวก " ที่เก๋ทันสมัย


ผลิตภัณฑ์ที่นี่ประณีตสวยงาม ราคาก็พอดีๆน่าซื้อมาก




กระติ๊บข้าวเหนียวทรงนี้น่าสนใจที่สุด  ผลผลิตจากต้นไหล


คุณอะนงรัก  เพ็งเวลุน  รองประธานกลุ่มจักสานด้วยกกตำบลท่าลาด




คุณนฤมล  สุนิกร  ฝ่ายปฏิคมของกลุ่มจักสานด้วยกกตำบลท่าลาด









ต้นไหล ปลูกง่าย  แค่ตัดยอดไปปักชำ  พอรากโผล่ก็นำไปลงดินปลูกต่อได้
น่าที่จะได้รับการส่งเสริมให้ปลูกมากๆ เผื่อจะได้เป็น " พืชเศรษฐกิจใหม่ "


ใครผ่านมาทางเรณูนคร  อย่าลืมมาแวะชมสินค้าของชาวท่าลาด ด้วยนะครับ







โรงเรียนบ้านท่าลาด   อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม

















วัดราษฏร์สวัสดิ์
16 หมู่ 1 ตำบลท่าลาด  อำเภอเรณูนคร  จังหวัดนครพนม






ศาลาการเปรียญนี้สวยคลาสสิคมาก






ไม่เข้าใจว่า " ใบเสมาทอง " กับ " บาตรดำคว่ำ " มีความหมายอย่างไร






วัดราษฏร์สวัสดิ์   ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม







1 ความคิดเห็น:

  1. คำว่า คว่ำบาตร นั้น มีที่มาจากการที่พระสงฆ์ลงโทษบุคคลผู้มีปรารถนาร้ายต่อพระรัตนตรัยอย่างร้ายแรง ซึ่งมีความผิดอยู่ 8 ประการ[1][2] คือ

    1.ขวนขวายเพื่อมิใช่ลาภแก่สงฆ์
    2.ขวนขวายเพื่อมิใช่ประโยชน์แก่สงฆ์
    3.ขวนขวายเพื่อให้พระอยู่ไม่ได้
    4.ด่าว่าเปรียบเปรยภิกษุทั้งหลาย
    5.ยุยงให้สงฆ์แตกกัน
    6.ตำหนิติเตียนพระพุทธเจ้า
    7.ตำหนิติเตียนพระธรรม
    8.ตำหนิติเตียนพระสงฆ์
    ฆราวาสผู้ใดมีพฤติกรรมดังกล่าว พระสงฆ์จะประชุมกันแล้วประกาศไม่ให้ภิกษุทั้งหลายคบค้าสมาคมด้วย การคว่ำบาตรในทางพระวินัยไม่ได้หมายถึงการคว่ำบาตรลง แต่หมายถึงการไม่รับบิณฑบาต ไม่รับนิมนต์ ไม่รับเครื่องใช้ อาหารหวานคาวที่บุคคลผู้นั้นนำมาถวาย[3] แต่หากต่อมาคนผู้นั้นสำนึกรู้สึกตน กลับมาประพฤติดี คณะสงฆ์ก็จะประกาศเลิก “คว่ำบาตร” ยอมให้ภิกษุทั้งหลายคบค้าสมาคมรับบิณฑบาต รับนิมนต์ รับเครื่องถวายไทยธรรมได้ เรียกว่า “หงายบาตร” เป็นสำนวนคู่กัน

    ดังนั้นการคว่ำและหงายบาตรจึงถือเป็นการลงโทษทางจารีตแบบหนึ่ง[4] ที่พระสงฆ์ได้นิยมถือปฏิบัติสืบมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เพื่อประโยชน์ในการตักเตือนและความอยู่โดยปกติสุขระหว่างพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชน

    ตอบลบ